วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อนุสรณ์ดอนเจดีย์ ประวัติศาสตร์ แห่ง สุพรรณบุรี

อนุสรณ์ดอนเจดีย์ ประวัติศาสตร์ แห่ง สุพรรณบุรี

 
พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์หรืออนุสรณ์ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี เป็นที่ที่คนไทยเรียกกันจนติดปากโดยภายในบริเวณของพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์นั้นประกอบไปด้วย พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระคชาธารออกศึกและองค์เจดีย์ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงได้สร้างเจดีย์ขึ้นเพื่อที่จะเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามยุทธหัตถี ที่ทรงมีต่อพระมหาอุปราชาแห่งพม่าเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2135 และในปีพ.ศ.2495 กองทัพบกได้บูรณปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นมาใหม่ โดยที่สร้างเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงกลมใหญ่ สูงถึง 66 เมตร มีฐานกว้างด้านละ 36 เมตร ครอบเจดีย์องค์เดิมเอาไว้ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปประกอบพิธีบวงสรวง และเปิดพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์เมื่อในวันที่ 25 มกราคม 2502 ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดให้ วันที่ 25 มกราคม ของทุกปีเป็นวันถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ พร้อมกันนั้นทางจังหวัดสุพรรณบุรีได้จัดให้มีงานเฉลิมฉลองพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ขึ้นทุกๆปี
 
 
เลยจากเจดีย์ไปประมาณ 100 เมตร จะเป็นที่ตั้งของพระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภายในนั้นมีรูปปั้นของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและพระสุพรรณกัลยา มีผู้นิยมไปสักการบูชาอยู่สม่ำเสมอ และช่วงต้นปีของทุกปี ก็จะมีการจัดงานอนุสรณ์ดอนเจดีย์ และงานกาชาดจังหวัดสุพรรณบุรีขึ้นอีกด้วย
สถานที่ตั้ง : ตั้งอยู่ที่กลางตัวอำเภอดอนเจดีย์ ริมถนน 3038 ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี พิกัด GPS 14.633380, 100.018428
การเดินทางจาก กรุงเทพฯ

ทางรถยนต์ : จากถนน 340 บางบัวทอง-สุพรรณบุรี ก่อนที่จะเข้าเมืองสุพรรณบุรี ให้สังเกตุปั้มน้ำมัน ปตท. ที่พิกัด GPS 14.444074, 100.132306 ให้เบี่ยงซ้ายสุดใช้เส้นทาง 357 วงแหวนเลี่ยงเมืองสุพรรณบุรี-อู่ทอง เจอกับสี่แยกให้ขึ้นข้ามสะพานข้ามแยก แล้วไปตามทางจนเจอสี่แยกที่อยู่ที่พิกัด 14.498260, 100.047247 ให้เลี้ยวซ้ายไปใช้เส้นทาง 322 อีกประมาณ 21 กิโลเมตรก็จะถึงอนุสรณ์ดอนเจดีย์

ถ้ามาโดยรถตู้  ก็มีรถตู่โดยสารจากอนุสาวรีย์ชัย มาถึงได้เลยทันที

ติดตามสถานที่อื่นๆอีกที่ http://travel.sanook.com/

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เที่ยวชมตลาดเก่าร้อยปี ตลาดสามชุก สุพรรณบุรี

 เที่ยวชมตลาดเก่าร้อยปี ตลาดสามชุก สุพรรณบุรี

"สามชุก" เป็นเมืองเล็กๆ ในจังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี โดยในอดีตนั้นสามชุกแห่งนี้คือ แหล่งที่ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งไทย จีน มอญ ฯลฯ ได้มามีสัมพันธ์ต่อกันในลักษณะของการแลกเปลี่ยนและการซื้อขายสินค้าจนพัฒนาไปสู่การลงหลักปักฐานสร้างเมืองที่มีความมั่นคงขึ้นมาตามประวัติของเมืองสามชุก ได้กล่าวไว้ว่า ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2437 ในสมัยรัชกาลที่ 5 เดิมชื่อ อำเภอ “นางบวช” ตั้งอยู่บริเวณตำบลนางบวช โดยจะมีขุนพรมสภา (บุญรอด) เป็นนายอำเภอเป็นคนแรก
ตลาดสามชุกแห่งนี้เป็นถึงตลาดสำคัญในการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าที่มีความสำคัญในอดีต ตั้งแต่สมัย 100 กว่าปีที่แล้ว ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสุพรรณบุรี แต่แล้วเมื่อถนนคือเส้นทางจราจรทางบกได้เข้ามาแทนที่การเดินทางทางน้ำ ทำให้คนหันไปใช้ทางบกแทนหรือหันหลังให้กับแม่น้ำท่าจีน ความสำคัญของตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าริมน้ำจึงเริ่มลดลง บรรยากาศการค้าขายในตลาดสามชุกเริ่มซบเซาลงเรื่อยๆ และเมื่อต้องแข่งขันกับห้างสรรพสินค้าที่มีขนาดใหญ่ และตลาดนัดภายนอก อีกมากมายทั้งหลาย ทำให้ร้านค้าภายในตลาดต้องหาทางปรับตัวเพื่อให้คงอยู่ต่อไปได้
 
และเมื่อราชพัสดุเจ้าของที่ดินที่ชาวบ้านเช่าที่ดินมายาวนาน ดำริจะทำการรื้ออาคารตลาดเก่าและสร้างเป็นตลาดใหม่ จึงทำให้ชาวบ้านพ่อค้าที่อยู่ในตลาดสามชุกและครูอาจารย์ที่เห็นคุณค่าตลาดเก่า ได้มารวมตัวเป็นคณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกเชิงอนุรักษ์ขึ้น และได้ระดมความคิด หาทางแก้ไขอนุรักษ์ตลาดและที่อยู่ของตนเองเอาไว้ และหาทางฟื้นคืนชีวิตชีวาของตลาดกลับขึ้นมาอีกครั้ง อันเป็นที่มาของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ใช้การท่องเที่ยวศึกษาวิถีชีวิตชุมชนดั้งเดิมต่างๆ ประวัติศาสตร์ของชุมชนเหล่านี้ เป็นเครื่องมือในการพัฒนา อาคารไม้เก่าแก่ ภายในตลาดสามชุกที่ก่อสร้างเป็นแนวตั้งฉากกับแม่น้ำท่าจีน นับเป็นสิ่งบอกให้รู้ว่าเป็นลักษณะเด่นของตลาดจีนโบราณ เป็นชุมชนชาวไทย-จีน ที่ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน ลวดลายฉลุไม้ที่เรียกได้ว่าลายขนมปังขิง ซึ่งเท่าที่พบเห็นในตลาดนี้มีมากถึง 19 ลายคือ ศิลปะตกแต่งอาคารไม้โบราณ ที่หาดูได้ยากมากแล้วในยุคปัจจุบัน หากไม่ได้รับการอนุรักษ์เอาไว้ ตอนนี้คงจะสูญหายไปเช่นเดียวกับตลาดโบราณอื่นๆนั้นเอง
 
ภายนอกจากสถาปัตยกรรมอาคารไม้โบราณที่สามารถพบเห็นได้ตลอดแนวทางเดิน 2 ข้างทางเดินภายในตลาด วิถีชีวิตบรรยากาศภายในตลาดการค้าขายนั้นที่ยังคงรักษาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมเฉียดเช่นในอดีต และบรรยากาศน้ำใจอัธยาศัยไมตรีดี๊ดีของแม่ค้า ข้าวของเครื่องใช้ ขนมอาหารที่นำมาตั้งขายภายในตลาด ก็ยังคงเป็นสิ่งยังคงอยู่จนถึงปัจจุบันให้ได้เห็นกัน ไม่ใช่สิ่งที่จำลองมาเพื่อให้ผู้ชมได้ดูชั่วครั้งชั่วคราว แต่สิ่งเหล่านี้คือวัฒนธรรมที่ได้สืบเนื่องจากอดีตถึมาจนงปัจจุบันเป็นเวลา 100 ปี อาชีพของคนในชุมชนส่วนใหญ่นั้นจะทำการค้าขายสินค้าอุปโภค-บริโภค เกษตรกรรม สินค้าหัตถกรรม และส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและมีเชื้อสายจีนอยู่นั่นเอง
 
ติดตามตลาดหรือสถานที่อื่นที่ http://travel.sanook.com/

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

เที่ยวชมเขื่อนกระเสียว สุพรรณบุรี

เที่ยวชมเขื่อนกระเสียว สุพรรณบุรี

 
เขื่อนกระเสียวตั้งอยู่ที่ตำบลด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ในพื้นที่ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยกระเสียวของกรมชลประทาน เดิมทีพื้นที่อำเภอสองพี่น้องนั้มีน้ำท่วมเป็นประจำทุกปีจนถึงเมื่อปี พ.ศ.2523 สมัยฯพณฯบรรหาร ศิลปอาชา ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯได้พิจารณาเห็นว่า เขื่อนกระเสียว รับน้ำได้น้อย จึงให้กรมชลประทานในการสร้างสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่เขื่อนกระเสียวเพื่อที่จะป้องกันน้ำท่วม เขื่อนกระเสียวเป็นเขื่อนดินกักเก็บน้ำสร้างเพื่อกั้นลำห้วยกระเสียวระยะทางยาว 4,250 เมตร สูงถึง 32.50 เมตร สามารถกักเก็บน้ำได้สูงสุดที่ 240 ล้านลูกบาศก์เมตร นับเป็นเขื่อนดินที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ และเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาขนาดใหญ่อีกด้วย นักท่องเที่ยวที่ต้องการขึ้นไปชมทิวทัศน์ในบริเวณสันเขื่อนจำเป้นต้องเดินขึ้นบันได จากลานจอดรถด้านล่างขึ้นไป
 
เมื่อขึ้นไปถึงจะสามารถมองเห็นทิวทัศน์กว้างไกลสุดสายตาไปถึงเขาพุเตย และยังมีร้านอาหารให้บริการใกล้ๆลานจอดรถอีกด้วยเพื่อความสะดวกสะบยแก่ท้องของนักท่องเที่ยว ในปีพ.ศ. 2558 เป็นปีครบรอบ 40 ปี ของการเสด็จพระราชดำเนินเยือน กิ่งอำเภอด่านช้าง เมื่อในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 เพื่อทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจประกอบพิธีเปิดป้ายอาคารเรียนโรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา ๓ พระราชทานธงลูกเสือชาวบ้านและเสด็จทอดพระเนตรโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียวจังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมกันกับอำเภอด่านช้างองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานสุพรรณบุรี หน่ววยงานภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนร่วมกันจัดงานเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในชื่อ "งาน ตามรอยเสด็จด่านช้าง ๔๐ ปี พระบารมีแผ่ไพศาล"
การเดินทางจากตัวเมืองด่านช้าง เดินทางไปไม่กี่นาทีจากในการที่จะมายืนอยู่ที่สันเขื่อนกระเสียว บริเวณนี้จะเปิด-ปิดเป็นเวลา ประมาณ 6 โมงเย็น เท่านั้น พอเหมาะเวลาสำหรับคนมาออกกำลังกายยามเย็น เช่น การวิ่ง การเดิน การปั่นจักรยาน แล้วยังได้ชมพระอาทิตย์ตกก่อนที่จะปิดอีกด้วย
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่เขื่อนกระเสียว โทรศัพท์. 03-559-5120

ติดตามรายละเอียดสถานที่ต่างอีก http://travel.sanook.com/

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

รอยพระพุทธบาท วัดเขาดีสลัก จังหวัดสุพรรณบุรี

รอยพระพุทธบาท วัดเขาดีสลัก จังหวัดสุพรรณบุรี

 
วัดเขาดีสลัก ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 ตำบลดอนคา จังหวัดสุพรรณบุรี ห่างจากอำเภออู่ทองไปอีก 8 กิโลเมตร ภายในวัดเขาดีสลักแห่งนี้มีรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งในปี พ.ศ. 2535 ฯพณฯบรรหาร ศิลปอาชา ได้ให้กรมศิลปากรมาพิสูจน์ว่ารอยพระพุทธบาทนี้ สรุปได้ว่าเป็นสมัยใกล้เคียงกันกับพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี เลยทำให้มีการสร้างมณฑปไว้บนยอดเขาและสร้างถนนขึ้นไปบนเขา พัฒนาทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวเสร็จโดยใช้เวลา 5 ปี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินไปเปิดเมื่อปี พ.ศ.2542 และสิ่งที่น่าสนใจภายในวัดก็อัน ได้แก่
รอยพระพุทธบาทจำลองสลักไว้บนแผ่นหินทรายสีแดงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สลักเป็นรูปนูนต่ำลายกลีบบัวโดยรอบพระบาทไว้ ปลายนิ้วพระบาทมีความยาวไม่เสมอกัน ข้อนิ้วพระบาทมี 2 ข้อ โดยข้อนิ้วพระบาทข้อแรกทำเป็นลายขมวดเป็นรูปก้นหอยตามคัมภีร์มหาบุรุษลักษณะหรือมหาปริสลักขณะ ดังที่พรรณนาไว้ในปฐมสมโพธิกถาฉบับภาษาบาลีรวมทั้งในคัมภีร์ลิลิตวิสูตรฉบับภาษาสันสกฤตที่ข้อนิ้วที่ 2 ทำเป็นลายก้นขดหรือใบไม้ม้วนลักษณะนั้นคล้ายกับลวดลายพันธุ์พฤกษาซึ่งเป็นที่นิยมในศิลปะแบบทวารวดี ซึ่งจะเห็นได้จากลวดลายปูนปั้นประดับในสมัยนั้น
ศาสนสถานหรือลวดลายประดับประติมากรรม อันเนื่องจากในพุทธศาสนาในสมัยทวารวดีบริเวณฝ่าพระบาทได้ทำเป็นรูปธรรมจักรขนาดเล็กมีกงล้อธรรมจักรอยู่จำนวน 16 ซี่ อยู่กลางฝ่าเท้าและรายล้อมไปด้วยภาพสลักรูปมงคลทั้ง 108 ประการ อยู่ในกรอบวงกลมมีลักษณะแตกต่างจากรอยพระพุทธบาทที่พบที่อื่นนั่นคือ รอยพระพุทธบาทนูนที่มีขนาดกว้างประมาณ 65.5 เซนติเมตร ความยาว 141.5 เซนติเมตร โดยมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 14-16 มีทางที่ให้รถสามารถขึ้นไปชมรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาได้โดยใช้ระยะทาง 2 กิโลเมตร ทางวัดได้ปรับปรุงภูมิทัศน์บนยอดเขาให้มองเห็นวิวทิวทัศน์สวยงามภายในเขตอำเภออู่ทองโดยรอบ และนอกจากนี้ยังพบโพรงหินภายในมีพระพุทธรูป และโบราณวัตถุต่างๆอีกหลายชนิดอกีด้วย
สถานที่ตั้ง:
ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลดอนคา อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ติดตามสถานที่น่าสนใจอีกมากที่ http://travel.sanook.com/

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

อุทยานมังกรสวรรค์ พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร สุพรรณบุรี

เที่ยวชม อุทยานมังกรสวรรค์ พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร สุพรรณบุรี

อุทยานมังกรสวรรค์ พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร สุพรรณบุรี ตั้งอยู่ภายในบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรี ก่อตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีความสัมพันธ์ทางการทูตครบรอบ 20 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2539 ขณะที่ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา ดำรงได้ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของประเทศไทย ภายในประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองและหมู่บ้านมังกรสวรรค์
โดยได้ริเริ่มจัดทำและออกแบบพิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธ์มังกรขึ้นเพื่อนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาของชาวจีนในประเทศไทยตลอดจนประวัติศาสตร์และอารยธรรมจีน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีอายุยาวนานถึง 5,000 ปีบริเวณศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรีออกแบบให้เป็นสัญลักษณ์รูปมังกรสัตว์เทพเจ้าอันศักดิ์สิทธิ์ที่รู้จักกันดี ลำตัวมังกรภายนอกออกแบบอย่างถูกต้องตามลักษณะความเชื่อของผู้คน หน้าต้องเป็นอูฐ ตาเหมือนกระต่าย มองเห็นในสิ่งที่คนทั่วไปนั้นมองไม่เห็น มีเขาเป็นกวาง หูของวัว ตัวคล้ายงู เกล็ดเหมือนปลา ขาเป้นเสือ อุ้งเท้าเหยี่ยว สีของลำตัวเลียนแบบเครื่องกังไสโบราณภายใต้ตัวมังกรใหญ่นั้นเป็นที่ตั้งของ "พิพิธภัณฑ์ลูกหลานพันธุ์มังกร"
หมู่บ้านมังกรสวรรค์
จำลองมาจากหมู่บ้านลี่เจียง 1000 ปี ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมล่าสุดที่ทางจังหวัดสุพรรณบุรีสร้างขึ้นมาเพื่อจำลองเมืองหมู่บ้านลี่เจียงของประเทศจีน ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นเมืองมรดกโลกที่มีความเก่าแก่มากถึง 1,000 ปี มาเที่ยวหมู่บ้านมังกรสวรรค์ก็จะได้รับบรรยากาศของหมู่บ้านจีนโบราณไม่ว่าจะเป็นร้านค้า โรงเตี้ยมสไตล์จีนโบราณ โรงหนัง หรือจะเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญคือกังหันพ่อลูกที่เป็นกังหันไม้โบราณพันปีที่อยู่ตรงทางเข้าหน้าหมู่บ้าน นอกจากนี้ยังมีหอชมวิวซึ่งสามารถชมวิวของเมืองสุพรรณได้ในมุมสูงและที่หน้าหอชมวิวคือเสามังกรสววรค์ที่มาจากเมืองเซียะเหมินหมู่บ้านมังกรสวรรค์ ที่สำคัญไม่เสียค่าเข้าชม เปิดบริการฟรีทุกวัน
อุทยานมังกรสวรรค์เปิดให้เข้าชมในวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่เวลา10.00-16.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ตั้งแต่เวลา 09.00-17.00 น. และปิดทุกวันอังคาร เข้าชมเป็นรอบๆมีชุดหูฟังเสียงบรรยายภาษาอังกฤษและจีนให้บริการด้วย

ส่วนค่าเข้าชมชาวไทยผู้ใหญ่ราคา 299 บาท เด็ก 149 บาท ชาวต่างประเทศผู้ใหญ่ราคา 499 บาท เด็ก 299 บาท

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ โทร. 03-552-6211-2

หาสถานที่น่าสนใจสวยงามอื่นๆอีกที่ http://travel.sanook.com/
วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

“คนกับควาย ทุ่งนากับควาย” หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย สุพรรณบุรี

“คนกับควาย ทุ่งนากับควาย” หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย สุพรรณบุรี

จังหวัดสุพรรณบุรี นั้นเป็นส่วนหนึ่งของภาคกลางที่มีการทำนาอุดมสมบูรณ์มาแต่ช้านาน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯโดยประมาณ 115 กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งพบหลักฐานทางโบราณคดีที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 3,500 -3,800 ปีมีการขุดพบโบราณวัตถุยุคหินใหม่ ยุคเหล็ก ยุคสัมฤทธ์ สืบทอดวัฒนธรรมต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุวรรณภูมิหรือเดิมที่เรียกกันว่า “เมืองทวารวดีศรีสุพรรณภูมิ” จังหวัดสุพรรณมีสถานที่ที่น่าสนใจมากมาย อาทิเช่น โบราณสถานอารามหลวง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สถานที่เกษตรกรรมและหมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทยแห่งนี้นี่เอง กับการสาธิตการทำนาที่ชาวบ้านดำรงชีพมาแต่ช้านานในอดีตจนถึงปัจจุบัน
หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทยแห่งนี้เป็นสถานที่ส่วนหนึ่งแห่งจังหวัดสุพรรณบุรี ที่ได้จัดขึ้นเพื่อที่จะสะท้อนให้เห็นภาพวิถีชีวิตชาวนาชนบทไทยแต่ดั้งเดิม ภาพการทำนาโดยไม่ใช้เครื่องจักรทันสมัยแรงงานและฝีมือล้วนๆให้ความรู้สึกชนบทแท้ๆมีสเน่ห์เหลือเกิน พร้อมสัมผัสงานฝีมือและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยที่สะท้อนให้เห็นได้จากกลุ่มหมู่บ้านชาวนาไทยในแบบเรียบง่าย อาทิเช่น บ้านเรือนไม้แบบเรือนปลายนาที่เป็นที่อยู่อาศัยของคนที่ค่อนข้างจะฐานะยากจน เป็นบ้านเรือนที่ก่อสร้างแบบเรียบง่าย เรือนศรีประจันต์เป็นบ้านเรือนที่สร้างมาจากไม้แท้หลังคามุงจากและกระเบื้องซึ่งเป็นหลังที่สี่และมีขนาดที่ใหญ่โตมากกว่าซึ่งถือได้ว่าเป็นครอบครัวที่ค่อนข้างขยายใหญ่สุดและมีฐานะค่อนข้างร่ำรวยเลยทีเดียว และมีอุปกรณ์ต่างๆที่เก็บไว้ยิ่งทำให้น่าศึกษามากยิ่งขึ้น
“คนกับควาย ทุ่งนากับควาย” เป็นสิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยเด็ดขาดในแถบนี้ หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทยได้ทำการรวบรวมสิ่งเหล่านี้ไว้ด้วยกันสำหรับการศึกษาด้านการเกษตรกรรมอย่างพร้อมเพรียง เพื่อนักเรียน นักศึกษาจะได้มาศึกษาหาความรู้ต่างๆของการทำนา การทำเกษตรกรรมในแบบชาวนาชนบทอย่างเรียบง่ายๆในอดีตของประเทศไทย โดยร่วมการใช้ควายในการทำนสุดคลาสสิกนั่นเอง
 
และทีสำคัญที่นี่ยังมีการแสดงให้ท่านได้เพลินเพลิดพร้อมศึกษาไปในตัวอีกด้วย ซึ่งตารางการแสดงและเวลเปิดปิดทำการก็มีดังนี้

**การเปิดทำการ - เปิดทำการทุกวันไม่มีวันหยุด

**เวลาเปิด-ปิด เวลา 09.00 – 18.00น.

**รอบการแสดง วันธรรมดาจะมี 2 รอบ (วันจันทร์ – วันศุกร์) ในเวลา 11.00 – 11.30น.

และเวลา 15.00 – 15.30 น.

**รอบการแสดง วันหยุดและวันหยุดนักขัตฤกษ์จะมี 3 ช่วงเช้า เวลา 11.00 – 11.45 น.,

ช่วงบ่ายเวลา 14.30 – 15.15 น. และช่วงเย็นเวลา 16.00 – 16.45 น.
 
มาเที่ยวหมู่บ้านอนุรักษ์ความไทยกันเยอะๆนะครับ ขอบคุณครับ ^^

ติดตามที่เที่ยวน่าสนใจอื่นๆได้อีกที่นี่ http://travel.sanook.com

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ธรรมชาติอันทรงคุณค่า สวนหินธรรมชาติ พุหางนาค จ.สุพรรณบุรี

ธรรมชาติอันทรงคุณค่า สวนหินธรรมชาติ พุหางนาค จ.สุพรรณบุรี


สวนหินธรรมชาติ พุหางนาค มรดกทางธรรมชาติชิ้นเอกแห่งเมืองสุพรรณ ที่ควรคุณค่าแก่การปกปักษ์รักษาไว้ ความงดงามแห่งสวนหินธรรมชาติดึกดำบรรพ์ที่มีอายุนับหมื่นล้านปี สวนป่าไม้โบราณที่มีอายุนับ 1000 ปี และปริศนาแห่งศาสนสถาน ณ เมืองโบราณอู่ทอง ก็เป็นสถานที่ที่น่าสนใจแห่งใหม่ในจังหวัดสุพรรณบุรี เต็มไปด้วยความงดงามแห่งธรรมชาติ สวนหินที่มีความงดงามตามจินตนาการ ด้วยรูปทรงอันหลากหลาย ดั่งผลงานชิ้นโบว์แดงของศิลปินชั้นยอด ความงดงามที่แฝงไว้ซึ่งปริศนา ให้ผู้ที่สนใจเรื่องราวอารยธรรมโบราณ ร่องรอยปริศนาที่ปรากฎขึ้นให้เราต้องค้นหากันต่อไป
จนปัจจุบัน สวนหินธรรมชาติ พุหางนาค ได้เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อยู่ในการดูแลของวนอุทยานพุม่วงโดยมีความร่วมมือกับชาวชุมชนภายในพื้นที่ จัดเส้นทางให้พาชมความงดงาม และได้เรียนรู้ธรรมชาติของสวนหินแห่งนี้ เพื่อป้องกันการบุกทำลายและหาประโยชน์ จากทรัพยากรณ์สำคัญอันทรงคุณค่า โดยหวังให้นักเดินทาง นักท่องเที่ยวที่มีจิตสำนึกในธรรมชาตินั้นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยกันปกป้องป่าแห่งนี้

ติดตามข่าวสารเรื่องท่องเที่ยวอีกที่ http://travel.sanook.com/

ท่องเที่ยวทัวน์...วัดป่าเลไลยก์...จ.สุพรรณบุรี

ท่องเที่ยวทัวน์...วัดป่าเลไลยก์...จ.สุพรรณบุรี

เค้าว่ากันว่า ถ้าได้มาเมืองสุพรรณบุรี แล้วไม่ได้แวะมากราบไหว้หลวงพ่อโตที่วัดป่าเลไลยก์ ก็เหมือนมาไม่ถึงเมืองสุพรรณบุรี ด้วยที่วัดป่าเลไลยก์นั้น เป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสุพรรณบุรีมาเนิ่นนาน และยังเป็นสถานที่หนึ่งในวรรณคดีไทยเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน อีกตังหาก

วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร นั้นตั้งอยู่ที่ ต.รั้วใหญ่ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี หรือท่าจีน ระยะทางห่างจากฝั่งประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีเนื้อที่กว้าง 82 ไร่ 1 งาน โดยมีโบราณสถานอันเป็นประธานของวัด นั้นคือ พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ซึ่งผู้คนเรียกกันว่า “ หลวงพ่อโตวัดป่าไลไลยก์”

ติดตามเรื่องราวการท่องเที่ยวอื่นๆได้อีกที่ http://travel.sanook.com/

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ท่องเที่ยวสไตล์ครอบครัว บึงฉวาก เฉลิมพระเกียรติ จ.สุพรรณบุรี

ท่องเที่ยวสไตล์ครอบครัว บึงฉวาก เฉลิมพระเกียรติ จ.สุพรรณบุรี

บึงฉวากเฉลิมพระเกียรติ นั้นเป็นบึงน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ ทั้งหมดประมาณ 2,700 ไร่ ระยะทางห่างจากตัวเมืองสุพรรณบุรีประมาณ 64 กิโลเมตร บึงฉวากมีพื้นที่ติดกับ อ.หันคา จ.ชัยนาท และ อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี ส่วนที่อยู่ใน อ.เดิมบางนางบวช จะมีพื้นที่ประมาณ 1,700 ไร่ บึงฉวากได้รับการประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และในปี พ.ศ. 2541 ก็ได้รับการจัดตั้งให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติอีกด้วย
สถานที่ท่องเที่ยวในบึงฉวากมีมากมาย มีทั้งโซนสวนสัตว์ อุทยานผักพื้นบ้าน บ่อจระเข้น้ำจืด อุโมงค์ปลาน้ำจืด เหมาะกับการท่องเที่ยวกับครอบครัว ที่สำคัญ คือภายในบึงฉวากนั้นมีที่พักให้บริการอีกด้วย

อ่านข้อมูลท่องเที่ยวอื่นๆที่ http://travel.sanook.com/

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

'สามชุก' ตลาดร้อยปีของจังหวัดสุพรรณบุรี

"สามชุก" ตลาดร้อยปีของจังหวัดสุพรรณบุรี

 
"สามชุก" เป็นเมืองเล็กๆ ของ จ.สุพรรณบุรี โดย อดีตสามชุกเป็นแหล่งของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติทั้งไทย จีน มอญ ฯลฯ มีสัมพันธ์ต่อกันในลักษณะการแลกเปลี่ยน ซื้อขายสินค้า จนพัฒนาเข้าไปสู่ การลงหลักปักฐาน สร้างเป็นเมืองที่มั่นคงขึ้นมา
ตลาดสามชุก เป็น ตลาดสำคัญที่ทำการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าสำคัญในอดีตมากว่า 100 ปีก่อน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน จ.สุพรรณบุรี แต่เมื่อมีถนนเข้ามา จึงเกิดการเดินทางทางบกที่เข้ามาแทนที่การเดินทางทางน้ำ ทำให้คนหันหลังให้กับแม่น้ำท่าจีน ความสำคัญของตลาดริมน้ำเริ่มลดลง บรรยากาศการค้าขายในตลาดสามชุกเริ่มซบเซาลง และเมื่อต้องแข่งขันกับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และตลาดนัดภายนอกต่างๆ ทำให้ร้านค้าภายในตลาดต้องปรับตัว เมื่อราชพัสดุ เจ้าของที่ดินที่ชาวบ้านได้เช่าที่ดินมายาวนาน ดำริจะรื้ออาคารตลาดเก่า และสร้างตลาดใหม่ขึ้น
ทำให้ชาวบ้าน พ่อค้า ที่อาศัยอยู่ในตลาดสามชุก ครูอาจารย์ที่เห็นคุณค่าตลาดเก่า รวมตัวกันเป็นคณะกรรมการพัฒนาตลาดสามชุกเชิงอนุรักษ์ขึ้น ระดมความคิด เพื่อหาทางอนุรักษ์ตลาดและที่อยู่ของตนไว้ หาทางฟื้นตลาดให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง อันเป็นที่มาของกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยใช้การท่องเที่ยวศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนดั้งเดิม ประวัติศาสตร์ในชุมชน เป็นเครื่องมือในการพัฒนาอาคารไม้เก่าแก่ ภายในตลาดสามชุก ที่ก่อสร้างเป็นแนวตั้งฉากกับแม่น้ำท่าจีน เป็นสิ่งที่บ่องบอกให้รู้ว่าเป็นลักษณะของตลาดจีนโบราณเดิม เป็นชุมชนชาวไทย-จีน ที่คงอยู่มาถึงปัจจุบัน ด้วยลวดลายฉลุไม้ที่เรียกกันว่าลายขนมปังขิง ซึ่งเท่าที่พบมา ตลาดนี้มีถึง 19 ลาย เป็น ศิลปะตกแต่งอาคารไม้โบราณ ที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน หากไม่ได้รับการอนุรักษ์ไว้คงสูญหายไปเช่นเดียวกับตลาดโบราณอื่นๆ นอกจากสถาปัตยกรรม อาคารไม้โบราณที่พบเห็นได้ตลอดแนว 2 ข้างทางเดินในตลาดแล้ว วิถีชีวิตและบรรยากาศภายในตลาดก็ยังคงรักษาวิถีแบบดั้งเดิมเหมือนในอดีต และบรรยากาศน้ำใจอัธยาศัยไมตรีของแม่ค้าทั้งหลาย ข้าวของเครื่องใช้ ขนมอาหารที่นำมาขายในตลาด ล้วนเป็นสิ่งที่ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน ไม่ใช่สิ่งที่จำลองขึ้นมาเพื่อให้ผู้ชมได้ดูชั่วครั้งชั่วคราว แต่สิ่งเหล่านี้คือ วัฒนธรรมที่สืบเนื่องในอดีต บ่มเพาะมาเป็น 100 ปี
การที่ได้เดินชมความคลาสิค ความเก่าแก่ของบ้านไม้ที่อายุนับร้อยปี แล้วแบบห้องแถวที่มีทั้งชั้นเดียวและสองชั้น รวมทั้งได้รับประทานอาหารอร่อยๆ ซึ่งมีให้ลองชิมตลอดทาง ตลาดสามชุกจะมีซอยเล็กๆตั้งแต่สามชุกซอย 1 - 4 ซึ่งแต่ละซอยก็จะอยู่ติดๆกัน โดยในแต่ละซอยก็จะมีร้านค้าที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นพิพิภัณฑ์ร้านค้าต่างๆ ร้านขายของฝาก ขายเสื้อ กระเป๋า รองเท้า ร้านอาหารขึ้นชื่อ ทั้งลูกชิ้นยักษ์ ข้าวห่อใบบัว หรือจะเป้นขนมไข่ปลา เป็นต้น
นักท่องเที่ยวจะได้สามารถสัมผัสแบบไม่รู้เบื่อ อิ่มตา อิ่มใจ อิ่มท้องอย่างไม่รู้ตัวกันเลยทีเดียว และทำให้ตลาดสามชุก แห่งนี้ได้รับการขนานนามว่าตลาด 100 ปี พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตชีวาและสิ่งที่น่าสนใจภายในตลาดสามชุก

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้อีกที่ http://travel.sanook.com/